เดิมเมืองสตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งของเมืองไทรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สตูลได้ครอบครองดินแดนที่เป็นเกาะในทะเลอันดามันเกือบทั้งหมด รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้เป็นเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2392 โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองใหม่เป็นรูปมณฑลขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 และให้รวมสตูลเข้าไว้ในมณฑลไทรบุรีเมื่อไทยต้องยอมเสียดินแดนแคว้นไทรบุรีให้แก่อังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 ยังเหลือสตูลอยู่เพียงเมืองเดียว จึงต้องไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ต และเมื่อเส้น ทางสายควนเนียงสตูลไปมาสะดวกทางราชการก็โอนสตูลไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชตามเดิม และเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลในปี พ.ศ.2475 สตูลก็ได้ยกฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีการปรับปรุงแก้ไข และวิวัฒนาการมาตามลำดับ สภาจังหวัดถูกจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 ฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรมการจังหวัดเท่านั้น ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.2481ขึ้นเพื่อแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยตรงแทนคณะกรมการจังหวัดเดิม สภาจังหวัดจึงมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคล และต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมด อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
|