นโยบายการพัฒนาจังหวัดสตูล
1. นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
1.1 พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ
- พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ได้มาตรฐาน
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หอประชุม บ่อน้ำพุร้อน
- ประสานการพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล ให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด
- สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
- สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ทั้งการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการ
- นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการให้บริการ และส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ผลักดันจังหวัดสตูลให้เป็นเมืองหลักด้านการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
1.2 พัฒนาการเกษตร
- จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเกษตรกร ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมงให้มีทักษะและความรู้ที่ทันสมัย
- ส่งเสริมการเลี้ยง แพะ แกะ โคขุน ประมงน้ำจืด ประมงพื้นบ้าน และการขยายพันธุ์สัตว์
- ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและประมงเพื่อเพิ่มมูลค่า
- สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าการเกษตรที่มีปริมาณ และได้มาตรฐาน
- ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา Smart Farmer (เกษตรเทคโนโลยีสมัยใหม่)
- สนับสนุนให้เกิดการลดต้นทุนสินค้าเกษตร ทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร
- พัฒนาตลาดชุมชน ตลาดออนไลน์ ให้รองรับสินค้าเกษตรมากขึ้น
1.3 พัฒนาการค้าชายแดน
- ผลักดันการพัฒนาอาคารสถานที่ และระบบผ่านแดน ด่านวังประจัน ให้ได้มาตรฐานสากล
- ผลักดันการขยายเวลา เปิด-ปิด ด่านวังประจัน เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ผ่านแดนใช้เวลาในจังหวัดสตูลได้มากขึ้น
- ผลักดันให้เกิดพื้นที่ปลอดหนังสือผ่านแดนบริเวณตลาดนัดชายแดนวังประจัน-วังเกลียน (Wang Kelian)
- ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าชายแดน
1.4 พัฒนาอาชีพชุมชน
- ส่งเสริม สนับสนุน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อผลิตสินค้าชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้
- พัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ หรือผู้ประกอบการ ให้ผลิตสินค้าและมีบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
- สนับสนุนด้านการตลาด โดยจัดสถานที่จำหน่าย จัดตลาดนัดชุมชน และส่งเสริมการขายด้วยตลาดออนไลน์
- พัฒนาช่องทางจำหน่ายสินค้าสตูล ด้วยตลาดออนไลน์ Satun e-Market
2. นโยบายด้านพัฒนาสังคม
2.1 พัฒนาการศึกษา
- ส่งเสริมการศึกษาทั้งสายสามัญ สายอาชีพ การศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)
- พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา ให้อ่านคล่องเขียนคล่องและคิดเลขเป็น
- มุ่งเน้นพัฒนาโรงเรียนในสังกัด อบจ.ให้เป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัด
- สนับสนุนให้วิทยาลัยอาชีวะ และวิทยาลัยชุมชน จัดหลักสูตรวิชาชีพระยะกลาง
- สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล
- สนับสนุนการค้นคว้าและวิจัย เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น
2.2 พัฒนาสาธารณสุข
- นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสตูล
- จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชน
- ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพประชาชน
- ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
- ร่วมทุนกับ สสส. ในการสร้างเสริมสุขภาวะ ให้ประชาชน
- ยกระดับการรักษาผู้ป่วยใน สอน./รพ.สต. ถ่ายโอน ด้วยระบบแพทย์ออนไลน์
- จัดให้มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ทุก สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน
- ปรับปรุง อาคารสถานที่ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน ให้ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการ
2.3 พัฒนาสวัสดิการสังคม
- จัดตั้ง "บ้านเพิ่มสุข" ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อเพิ่มความสุขและลดความเหลื่อมล้ำ
- จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัด
- จัดให้มีอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) หรือลานกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
- ร่วมกับ สปสช. จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้ป่วยติดเตียง
- จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านสวัสดิการสังคมของประชาชน
- หนุนเสริม พมจ.ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส
2.4 พัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
- ส่งเสริม สนับสนุนการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพและจัดกิจกรรมนันทนาการ
- พัฒนาบุคลากรด้านกีฬาของจังหวัด
- จัดการแข่งขันกีฬาเพื่อพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศและมุ่งสู่นักกีฬาอาชีพ
- สนับสนุนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสตูล
- ปรับปรุงสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ได้มาตรฐาน
- จัดให้มีสถานที่สาธารณะ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจและนันทนาการ
2.5 การแก้ไขปัญหายาเสพติด
- จัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
- ส่งเสริม สนับสนุน ให้เยาวชน เล่นกีฬาเพื่อห่างไกลยาเสพติด
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เพื่อป้องกันยาเสพติด
- สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสารเสพติดที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติด
2.6 การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
- สนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน
- สนับสนุนกิจกรรมสตรี จิตอาสา และอาสาสมัครทุกประเภท
- ส่งเสริมภาคประชาสังคมจัดตั้งชุมชนจัดการตนเองต้นแบบ
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่
- ร่วมทุนกับ สสส.ให้ภาคประชาชนเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
2.7 ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมแบบสตูล
- ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมทางศาสนา ทุกศาสนา
- ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้นำทุกศาสนา
- ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สนับสนุนการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.8 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ เมื่อเกิดสถานการณ์สาธารณภัย
- บูรณาการความร่วมมือระหว่าง อปท. ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในการจัดการสาธารณภัย
- พัฒนาศักยภาพของบุคลากร อาสาสมัคร กู้ภัย และผู้นำชุมชน
- สนับสนุนเครื่องจักรกล อุปกรณ์ และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3. นโยบายด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- จัดให้มี และบำรุงรักษา ถนน คูระบายน้ำ สะพาน ท่าเทียบเรือ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ให้ได้มาตรฐาน
- ติดตั้งไฟส่องสว่าง สัญญาณไฟจาราจร ไฟจุดเสี่ยง ถนนทุกสายของ อบจ.
- สนับสนุนการปรับปรุงแหล่งน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
- สนับสนุนการขุดลอกคู คลอง และลำรางที่ตื้นเขิน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
- บริการเครื่องจักรกลและบุคลากรด้านการโยธา ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น
- สนับสนุนโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น ถนนเลี่ยงเมือง สะพานสตูล-เปอร์ลิส สนามบินสตูล อ่างเก็บน้ำคลองช้าง แก้มลิงหนองปลักพระยา
4. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน และประชาชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการจัดทำปะการังเทียม และซั้งเชือก เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง
- สนับสนุนการจัดวางทุ่นป้องกันแนวปะการัง และทุ่นผูกเรือเพื่อการท่องเที่ยว
- จัดการขยะอันตรายอย่างเป็นระบบ
- สนับสนุนการดำเนินการศูนย์จัดการขยะมูลฝอยท้องถิ่น
- ส่งเสริมการจัดการน้ำเสียชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
5. นโยบายด้านการเมืองและการบริหารจัดการองค์กร
- สนับสนุนภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัด โดยให้มีสภาประชาชนด้านต่างๆ
- บริหารจัดการองค์กรโดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล
- พัฒนาบุคลากร และเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีความทันสมัยและเพียงพอ
- นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและให้บริการประชาชน
- สนับสนุนและส่งเสริมงานที่เป็นนวัตกรรม และการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นศูนย์รวมฐานข้อมูลจังหวัด ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์