กิจกรรม อบจ.สตูล
สตูลอัพเดต
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวจัดซื้อ-จัดจ้าง
- ข่าวรับสมัครงาน
- หนังสือราชการภายใน
- เอกสารดาวน์โหลด
26 พฤศจิกายน 2024
21 พฤศจิกายน 2024
18 พฤศจิกายน 2024
09 ธันวาคม 2024
28 พฤศจิกายน 2024
10 มีนาคม 2022
รางวัล
แห่งความภาคภูมิใจ
โล่ประกาศเกียรติคุณศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ประจำปี 2565
รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี
รางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น พ.ศ. 2565
ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด
Previous
Next
สื่อ
ประชาสัมพันธ์
วารสาร อบจ.สตูล
เที่ยว
สตูล
เกาะหลีเป๊ะ
เกาะหลีเป๊ะเป็นหนึ่งในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ห่างจากฝั่งท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดังรายล้อมเต็มไปด้วยป่าปะการังอันสมบูรณ์ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายขาวละเอียด น้ำใสสามารถมองเห็นปลาและปะการังได้จากผิวน้ำ เกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเต็มไปด้วยแนวปะการังมากมาย บนเกาะจะมีเรือคอยให้บริการเช่าเรือเพื่อท่องเที่ยวไปยังเกาะรอบๆ เกาะหลีเป๊ะ มีทั้งหมด หาดพัทยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะหลีเป๊ะ เป็นหาดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปมากที่สุด และมีบรรยากาศครึกครื้นที่สุดหาดซันไรท์ อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะหลีเป๊ะ ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านชาวเล หาดคาร์มา อยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งหันหน้าเข้ากับเกาะอาดัง และหาดซันเซ็ท อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งหันหน้าเข้ารับแสงของพระอาทิตย์ตกยามเย็นตามชื่อของหาด โดยแต่ละหาดสามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้โดยใช้เวลาเดินประมาณ 15-20 นาที ลักษณะของเกาะเป็นที่ราบ ส่วนที่เป็นภูเขามีเพียงเล็กน้อย เกาะนี้จึงมีผู้คนอาศัยกว่าหนึ่งพันคนเป็นชาวเกาะ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการสร้างโรงแรมที่พักร้านค้า สถานบริการต่างๆมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการ ของการท่องเที่ยว
คลิกที่นี่เกาะไข่
“เกาะไข่” เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูลในเชิงการท่องเที่ยว เป็นจุดกึ่งกลางในการแล่นเรือจากท่าเทียบเรือปากบารากับเกาะหลีเป๊ะ รายล้อมด้วยน้ำทะเลใสสีมรกต หัวแหลมมีลักษณะผาชันด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่ง นักท่องเที่ยวมักไม่พลาดที่จะต้องแวะชื่นชมในความงดงามของเกาะไข่ สถานที่ตั้ง: เกาะไข่ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อยู่ห่าจากท่าเทียบเรือปากบาราไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางเรือประมาณ 33 กิโลเมตร เกาะไข่ มีขนาดตามความยาวประมาณ 300 เมตร กว้างประมาณ 100 เมตร เห็นเป็นเกาะหินขนาดเล็กสองเกาะห่างจากกันประมาณ 250 เมตร มีสันดอนทรายเชื่อมระหว่างสองเกาะ หินส่วนใหญ่เป็นหินทรายมีโครงสร้างรอยแตกฉี่หลายทิศทาง โดยในช่องรอยแตกดังกล่าวมักมีสารเหล็กออกไซด์เข้าไปสะสมตัวอยู่และมีความแข็งแรงทนทานต่อการสึกกร่อนสูงกว่าเนื้อหินทราย บางบริเวณจึงพบโครงร่างตาข่ายสามมิติของเหล็กออกไซด์โดยที่เนื้อหินได้สึกกร่อนหลุดออกไปหมดแล้ว เกาะด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่งเกิดจากคลื่นทะเลซัดมีลักษณะที่สวยงามแปลกตาและถือเป็นสัญญาลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล (ทางอุทยานแห่งชาติตะรุเตาไม่อนุญาตให้ค้างแรมบนเกาะ และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ)
คลิกที่นี่เกาะหินซ้อน
เกาะหินซ้อน มีก้อนหินยักษ์รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดใหญ่วางซ้อนกันอยู่อย่างสมดุลและด้วยทิวทัศน์อันแปลกตาทำให้เกาะหินซ้อนกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของหมู่เกาะดง ด้วยลักษณะของเกาะหินซ้อนที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ มีก้อนหินใหญ่ทับซ้อนกัน ดูคล้ายหมาน้อย บางก็บอกว่าดูเหมือนรูปร่างเรือดำน้ำ จนบางคนเรียกกองหินเรือดำน้ำ บางคนก็บอกว่ามันคล้ายเจ้าตัวโมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ กองหินบริเวณนี้ ก็ยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะคนที่ชอบดำน้ำลึก มีทั้งปะการังอ่อน ปะการังแข็ง และดอกไม้ทะเลจำนวนมากสีสันสวยงาม บริเวณโดยรอบเกาะหินซ้อนจึงเป็นที่นิยมของคนที่สนใจดำน้ำตื้น หรือ snorkeling การดำน้ำบริเวณนี้ต้องระมัดระวังเพราะกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยวเนื่องจากเป็นทะเลเปิด บริเวณนี้ยังเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมารอชมพระอาทิตย์ตก
คลิกที่นี่เกาะหินงาม
เกาะหินงามอุทยานแห่งชาติตะรุเตา หาดกรวดหินงาม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอาดัง เป็นเกาะขนาดเล็กมีชายหาดหินกรวดสีดำลวดลายสวยงามโดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับน้ำทะเลจะเป็นประกายสวยงามเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องแวะชมความสวยงามของหินกรวดตัดกับขอบฟ้าและน้ำทะเล บนเกาะมีป้ายเตือนเกี่ยวกับคำสาปแช่งของเจ้าพ่อตะรุเตาว่า "ผู้ใดบังอาจเก็บหินงามจากเกาะนี้ไปผู้นั้นจะถึงซึ่งความหายนะนานานัปการ” ด้วยความเชื่อเหล่านี้ถือเป็นมาตรการการป้องกันทรัพยากรทางจิตใจได้เป็นอย่างดี
อุทยานธรณีสตูลกำลังจะผลักดันให้เกาะหินงามเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัยทางด้านธรณีวิทยา และจะเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น นอกจากความสวยงามของหินแล้วบริเวณท้ายเกาะหินงามยังมีจุดดำน้ำปะการังน้ำตื้น ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังสมองร่องเล็ก ปะการังโต๊ะ ปะการังเขากวาง ปะการังลายดอกไม้ ฯลฯ
คลิกที่นี่ปราสาทหินพันยอด
ปราสาทหินพันยอด ชายหาดและน้ำทะเลสีเขียวมรกตที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหินหน้าตาประหลาดมองดูคล้ายปราสาทที่มียอดแหลมนับพันแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อเจ็ดลูก ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกมากว่าหลายร้อยล้านปีทำให้หินมีรูปร่างแปลกตา การมาเที่ยวที่นี่ต้องพายเรือคายัคลอดผ่านช่องแคบเข้าไปจะพบกับความอลังการของหินทรงปราสาทแห่งนี้ นอกจากปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่แล้ว ทางชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกยังมีบริการนำเที่ยวเส้นทางพายเรือคายัคชมสันหลังมังกรตัวเล็กหรือทะเลแหวก ที่อยู่ไม่ไกลจากชายหาดบ้านบ่อเจ็ดลูก แวะชมความมหัศจรรย์ของหินก้อนกลมที่อ่าวหินงาม ถ้ำลอดพบรัก โดยสามารถเที่ยวได้ในเวลาครึ่งวัน แต่ถ้าใครอยากชมฟอสซิลยุคหินดึกดำบรรพ์ที่หาชมได้ยากก็จะต้องเป็นทริปแบบเต็มวัน
คลิกที่นี่หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
จากตัวเมืองสตูลประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเมืองสตูล – ตันหยงโป โดยการสังเกตป้าย หาดสันหลังมังกร “ทะเลแหวก” คือคำเรียกขานเกาะแห่งหนึ่งของชาวชุมชนตันหยงโป อ.เมืองสตูล ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์กลางทะเลอันดามัน ในยามน้ำทะเลลดลงเหมือนกระแสน้ำหลีกทางให้สันทรายโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นสันทรายที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยนับหลายล้านตัวทับถมกัน ทำให้เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวยาวกว่า 3 กิโลเมตร สามารถเชื่อมไปยังอีกเกาะหนึ่งได้ หรือเปรียบเสมือนกับมังกรฟ้าถลาลงเล่นน้ำ ให้เราได้เดินบนสันหลังมังกรที่เคลื่อนไหวพลิ้วตัวอย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อหาดแห่งนี้ “หาดมังกร”
นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเรือหางยาวนำเที่ยวได้ที่ท่าเรือบ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมืองสตูล ใช้เวลาเดินทางเพียง 20 นาที เราสามารถนั่งเรือชมเกาะกวาง เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเดียวกัน และแวะสัมผัสวิถีชีวิตชาวเลที่ “ปุเลาอูบี” ได้อีกด้วย
คลิกที่นี่ถ้ำเลสเตโกดอน
เป็นถ้ำหินปูนที่มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะเป็นถ้ำธารลอด (stream cave) ที่มีความยาวมากไม่ต่ำกว่า 4 กิโลเมตร และยังมีการก่อตัวของหินงอกหินย้อยลักษณะสวยงามแปลกตามากมาย อาทิ หลอดหินย้อย หินปูนฉาบ และม่านหินย้อย เป็นต้น จึงถือได้ว่าเป็น ถ้ำเป็น (live cave) และที่สำคัญมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนมากบริเวณพื้นลำธารตลอดความยาวของถ้ำ เช่น ขากรรไกรพร้อมฟันกรามล่างของช้างโบราณสเตโกดอน อายุประมาณ 1.8 ล้านปี ถึง 10,000 ปีก่อน แผ่นฟันกรามของช้างโบราณเอลิฟาส กรามแรดโบราณ และเขากวาง เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นถ้ำที่มีความโดดเด่นทั้งทางด้านธรณีสัณฐานและด้านซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างมาก
คลิกที่นี่ถ้ำภูผาเพชร
เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก เนื้อที่ภายในถ้ำกว่า 50 ไร่ เพดานถ้ำสูงโปร่ง โดยความอัศจรรย์ภายในถ้ำแห่งนี้ปรากฏผ่านหินงอกหินย้อย ที่มีประกายระยิบระยับตระการตาดูคล้ายเกล็ดเพชรมากมาย ภายในถ้ำนั้นจัดสรรแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ มากถึง 20 ห้อง มีสะพานไม้เป็นทางเดินตลอดถ้ำและติดตั้งไฟส่องสว่าง โดยห้องที่น่าสนใจ อาทิเช่น
- ห้องภูผาเพชร ถือเป็นไฮไลท์ที่สำคัญที่สุดของถ้ำเลยทีเดียว ด้วยหินงอกหินย้อยภายในห้องนี้มีประกายเหมือนเกล็ดเพชรระยิบแวววาว เมื่อกระทบกับแสงไฟจะแลดูสวยงามวิจิตรตระการตาเกินคำบรรยาย
- ห้องแสงมรกต อยู่ลึกด้านในสุดของถ้ำ โดยมีลักษณะเด่นตรงที่เพดานถ้ำบริเวณนั้น เป็นช่องปล่อง เปิดให้แสงธรรมชาติสาดลอดลงมากระทบกับหินงอกหินย้อยที่มีสีเขียว จึงทำให้ลานห้องแห่งนี้กลายเป็นสีเขียวมรกตสวยงามแปลกตา โดยแสงจะลอดผ่านปล่องเป็นลำแสงสวยงามในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เวลาประมาณ 15.00 - 15.20 น. ถือเป็นไฮไลท์ที่ใคร ๆ ก็อยากมาสัมผัส
- ห้องม่านเพชร มีลักษณะคล้านผ้าม่านแขวนเป็นหลืบซ้อนกัน
- ห้องพญานาคมีหินงอกต่อตัวกันคล้ายงูใหญ่หรือพญานาค
- ห้องปะการังมีหินงอกหินย้อยคล้ายประการังในทะเล
นอกจากนี้ หากสังเกตจากประเภทของหินงอก (Stalagmite) ก็จะมีชื่อต่าง ๆ ตามรูปทรงที่พบเห็นมีมากถึง 31 แบบ ได้แก่ ดอกเห็ด ซุ้มประตู หัวแหวนเพชร สายน้ำเพชร หัวพญานาค พญานาคปรก เศียรพระ ดอกบัวคว่ำ ส่วนประเภทหินย้อย (Stalactite) ก็มีทั้งหมด 4 แบบได้แก่ แบบรูปร่างคล้ายโดม แบบแมงกระพรุน และแบบม่าน สำหรับประเภทเสาหิน (Column in Cavern) ซึ่งเป็นส่วนของหินงอกและหินย้อยมาบรรจบกันกลายเป็นรูปเสาค้ำถ่อเพดานถ้ำ ถ้ำนี้ก็มีมากถึง 14 แห่ง และประเภทเสาหินยังมีลักษณะต่าง ๆ กันโดยมีชื่อเรียกว่าเสาเพชรหรือเสาหินย้อยหรือเสาค้ำสุริยัน ส่วนบ่อขั้นบันไดนั้นก็มีลักษณะเหมือนชายน้ำตกหินปูนที่เป็นชั้น ๆ เหมือนขั้นบันได ซึ่งภายในถ้ำภูผาเพชรมี 5 แห่ง แต่ละแห่งพบในแบบที่มีรูปทรงต่างกัน อาทิเช่น แบบขั้นบันได แบบอ่าง แบบเวทีคอนเสิร์ต
คลิกที่นี่น้ำตกวังสายทอง
เป็นน้ำตกชั้นหินปูนขนาดใหญ่ ที่มีความสวยงามและมหัศจรรย์ที่น่าหลงใหล ซึ่งเป็นน้ำตกหินปูนแห่งแรก ในภาคใต้ เดินแล้วไม่ลื่น ปราศจากตะใคร่น้ำซึ่งยังสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในความปลอดภัยต่อการปีนป่ายสู่ขั้นสูงๆ พร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ ที่หาดู แต่ละชั้นไหลลดหลั่นกันมาไหลผ่านชั้นหินปูนสีเหลืองอร่ามดั่งทองกระทบกับแสงอาทิตย์ดูงดงามราวกับดอกบัว สามารถเดินชมได้จนถึงแหล่งน้ำ
คลิกที่นี่บ่อน้ำพุร้อนทุ่งนุ้ย
บ่อน้ำร้อนทุ่งนุ้ยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นบ่ออาบน้ำแร่ธรรมชาติ บริเวณบ่อน้ำร้อนตั้งอยู่ริมเชิงเขา ที่บ้านน้ำร้อน หมู่ที่ ๔ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล แวดล้อมด้วยสวนผลไม้และสวนยางพาราจัดสรรพื้นที่ไว้ประมาณ5ไร่ สำหรับเป็นอาคารสำนักงาน อาคารโรงอาหารและร้านค้าบริการนักท่องเที่ยว ห้องสุขาและบ่ออาบน้ำแร่ บ่ออาบน้ำแบ่งชาย-หญิง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
บ่อน้ำพุร้อนทุ่งนุ้ย เป็นน้ำบริสุทธิ์จากน้ำพุร้อน น้ำใสสะอาด สามารถดื่มได้ โดยมีอุณหภูมิประมาณ 52 องศาเซลเซียส
คลิกที่นี่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติคฤหาสถ์กูเด็น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น จากความตั้งใจแรกของการสร้างเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นในรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโดโรเนียล สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บเรื่องราวในอดีตอันงดงามของจังหวัดสตูลไว้ได้ทุกแง่ทุกมุม ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ก้าวแรกของนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเยือนสตูลจึงไม่ควรพลาดที่นี่เลยแม้แต่น้อย อาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นที่อวดโฉมในรูปแบบตึกฝรั่งหลังนี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2441 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2459 โดยพระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (กูเด็นบินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูล
คลิกที่นี่
Previous slide
Next slide
มัลติมีเดีย
บริการในจังหวัด
Playlist
33 Videos
Loading ...